ประเทศอดีตสหภาพโซเวียตินั้นอยู่ในกลุ่มภูมิรัฐศาสตร์เดียวกัน จึงมีการออกแบบ "กับดัก" ระบบส่งพลังงานทางท่อที่โครงสร้างสลับซับซ้อน โดยเฉพาะประเทศแถบทะเลบอลติกปัจจุบันทำให้ประเทศเหล่านี้ต้องพึ่งพาก๊าซและน้ำมันมากจากรัสเซีย และเบรารุส เท่านั้นผ่านโครงสร้างพื้นฐานที่มีอยู่ของท่อส่งน้ำมัน และระบบไฟฟ้าและก๊าซที่สืบทอดมาจากในอดีตที่เป็นความแยบยนเพื่อป้องการบรรดารัฐย่อยในขณะนั้นแข็งข้อกระด้างกระเดื่องต่อรัฐใหญ่สุดในสหภาพฯ
ระบบไฟฟ้าของประเทศย่านทะเลบอลติกจึงไม่ได้เชื่อมโยงสัมพันธ์กับระบบไฟฟ้าของยุโรปตะวันตก (UTCE) หรือระบบไฟฟ้าสแกนดิเนเวีย (Nordel) นอกจากนี้บริษัท Gazprom ผู้จัดจำหน่ายก๊าซของรัสเซียยังมีส่วนได้เสียผลประโยชน์มหาศาลกับบริษัทก๊าซในย่านทะเลบอลติกทั้งหมด ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมาประเทศที่แตกมาจากสหภาพโซเวียติแม้จะมีแผนการกระจายความเสี่ยงหลากหลาย แต่พวกเขาไม่อาจหลุดกับดักโครงสร้างโบราณแต่แข็งแรงนี้ได้
ทำให้ยังคงพึ่งพาก๊าซที่จัดหาโดยรัสเซียเกือบทั้งหมด ตลาดก๊าซในประเทศแถบบอลติกถูกตัดขาดจากยุโรปอย่างมาก วันที่ 1 เม.ย.65 ที่ผ่านมาประเทศลิทัวเนีย ที่อยู่ในย่านบอลติก เป็นประเทศแรกในสหภาพยุโรป (EU) ที่ประกาศหยุดการนำเข้าก๊าซของรัสเซีย ตามมาด้วยลัตเวีย และเอสโตเนีย หวังจะยุติการพึ่งพาพลังงานของรัสเซีย ทั้ง 3 ชาตินี้ได้เรียกร้องให้ EU ส่วนที่เหลือปฏิบัติตามตัวอย่างความกล้าของพวกเขา
ลัตเวีย ประเทศเล็กๆ แถบบอลติก และมีชายแดนติดกับรัสเซีย ต้องพึ่งพาก๊าซจากรัสเซียถึง 93% ไม่นานมานี้ประธานาธิบดี Gitanas Nausėda แห่งลิทัวเนียทวีตโซเชียลอย่างแข็งขันว่า “จากนี้ไป จะไม่มีก๊าซรัสเซียในลิทัวเนียอีกต่อไปแล้ว เมื่อหลายปีก่อน ประเทศของเราได้ตัดสินใจว่าวันนี้ทำให้เราไม่ต้องเจ็บปวดที่จะทำลายความสัมพันธ์ด้านพลังงานกับรัสเซีย ถ้าเราทำได้ ส่วนที่เหลือของยุโรปก็ทำได้เช่นกัน” สิ้นคำประกาศของผู้นำลัตเวียเพียง 1 วัน รัฐบาลลัตเวีย ถูกกลุ่มผลประโยชน์อุตสาหกรรมชั้นนำของลัตเวียในภาคพลังงานกดดันอย่างหนักกับการตัดสินใจที่เร่งรีบ
เกิดการเผชิญหน้าทางการเมือง สร้างแรงกระเพื่อมสั่นคลอนรัฐบาลลัตเวีย จนจะล่มมิล่มแหล่ ภายในรัฐบาลเกิดความขัดแย้งอลหม่านวุ่นวาย ล่าสุดรัฐบาลลัตเวีย พ่ายแพ้ยอมศิโรราบตัดสินใจยูเทิน 180 องศา พลิกลิ้นกลับคำประกาศทำสัญญาข้อตกลงระยะยาวกับ Gazprom รัฐวิสาหกิจผู้ผลิตก๊าซรัสเซียเพื่อนำเข้าก๊าซจนถึงปี 2030 หรือยาว 8 ปี โดยยอมเปิดบัญชีแรกสกุลเงินยูโร และบัญชีสองสกุลรูเบิลกับ Gazprombank รัสเซีย โอนจ่ายค่าก๊าซเป็นยูโร แปลงเป็นรูเบิล โอนต่อเข้า Gazprom และหมุนระบบเศรษฐกิจรัสเซีย ให้รวยอื้อขึ้น
ถ้ารัฐบาลลัตเวีย ไม่ยอมศิโรราบรัสเซีย จะกระทบต่อผลประโยชน์ทางธุรกิจและเศรษฐกิจของชาติจนถึงอาจล้มละลายได้ สิ่งนี้บ่งชี้ว่าเศรษฐกิจของประเทศยุโรปตะวันออกย่านบอลติก ต้องพึ่งพารัสเซียอย่างมาก และได้แสดงให้ชาติยุโรปอื่นๆ เห็นว่าไม่มีทาง "จะหนีออกจากกับดักก๊าซของรัสเซียไปได้" ประเทศใดกระด้างกระเดื่อง เศรษฐกิจ ธุรกิจจะวินาศ และล้มละลายประชาชนจะทุกข์ยากแสนสาหัส รัฐบาลจะล้มครืน..นี่คือ กับดักที่ทรงพลังมรดกจากอดีตสหภาพโซเวียติ..ให้จับตาว่าประเทศยุโรปที่เหลือ จะทนอึดได้กี่วันก่อนจะคุกเข่าเบญจางคประดิษฐ์ เกาะขารัสเซียพร้อมมอบกระเช้าใส่เงินรูเบิล
ที่มา : TFIGlobal , TNNworld
#WorldUpdate