นักฟิสิกส์จำลอง “รูหนอน” ใช้เทเลพอร์ตข้อมูลได้สำเร็จ

ภาพประจำตัวสมาชิก
admin
Administrator
Administrator
โพสต์: 13796
ลงทะเบียนเมื่อ: พฤหัสฯ. 21 พ.ค. 2015 12:14 pm
กลุ่ม: ผู้ดูแลระบบ

นักฟิสิกส์จำลอง “รูหนอน” ใช้เทเลพอร์ตข้อมูลได้สำเร็จ

โพสต์โดย admin » จันทร์ 12 ธ.ค. 2022 5:44 am

นักฟิสิกส์จำลอง “รูหนอน” ใช้เทเลพอร์ตข้อมูลได้สำเร็จ

IMG_20221212_054759.jpg
IMG_20221212_054759.jpg (419.86 KiB) เปิดดู 810 ครั้ง

แบบจำลองพฤติกรรมของรูหนอน สร้างโดยคอมพิวเตอร์ควอนตัม Sycamore ของกูเกิลที่มาของภาพ,CALTECH/REUTERS
คำบรรยายภาพ,
แบบจำลองพฤติกรรมของรูหนอน สร้างโดยคอมพิวเตอร์ควอนตัม Sycamore ของกูเกิล

2 ธันวาคม 2022
ทีมนักวิทยาศาสตร์จากหลายสถาบันวิจัยในสหรัฐฯ ประสบความสำเร็จในการจำลอง “รูหนอน” (wormhole) บนคอมพิวเตอร์ควอนตัม Sycamore ของกูเกิล ทั้งยังสามารถ “เทเลพอร์ต” (teleport) หรือส่งข้อมูลผ่านช่องทางลัดของปริภูมิ-เวลา ภายในรูหนอนดังกล่าวได้อีกด้วย

รายละเอียดของการทดลองข้างต้นได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร Nature ฉบับวันที่ 1 ธ.ค. ที่ผ่านมา โดยทีมนักฟิสิกส์ชาวอเมริกันระบุว่า พวกเขาใช้คอมพิวเตอร์ควอนตัมจำลองคู่หลุมดำขนาดจิ๋ว เพื่อติดตามสังเกตพฤติกรรมที่จะเกิดขึ้นตามมาของหลุมดำทั้งสอง ซึ่งผลปรากฏว่ามีรูหนอนหรือช่องทางลัดคล้ายอุโมงค์เกิดขึ้นเชื่อมต่อคู่หลุมดำจำลองนั้น

ปรากฏการณ์ดังกล่าวไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่ เนื่องจากทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปของไอน์สไตน์ได้ทำนายเอาไว้แล้วว่า หากเกิดการบิดเบี้ยวโค้งงอของปริภูมิ-เวลา (space-time) อันเนื่องมาจากแรงโน้มถ่วงมหาศาลเช่นที่พบได้รอบหลุมดำ รูหนอนหรือที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “สะพานไอน์สไตน์-โรเซน” (Einstein-Rosen bridge) จะสามารถเกิดขึ้นได้ โดยเราอาจใช้รูหนอนเคลื่อนย้ายสสาร พลังงาน หรือข้อมูล ระหว่างตำแหน่งที่อยู่ห่างไกลกันมากในห้วงจักรวาลภายในชั่วพริบตาได้

ที่ผ่านมาเรายังไม่พบรูหนอนที่เกิดขึ้นเองในธรรมชาติ แต่นี่เป็นครั้งแรกที่นักวิทยาศาสตร์สามารถจำลองรูหนอนขนาดเล็ก ซึ่งมีคุณสมบัติและพฤติกรรมเหมือนกับที่ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปได้ทำนายเอาไว้ แม้การทดลองครั้งนี้จะไม่ได้ทำให้ปริภูมิ-เวลาเกิดการบิดเบี้ยวโค้งงอขึ้นมาจริง ๆ ก็ตาม

นักฟิสิกส์ใช้ “รูหนอน” แก้ปัญหาความย้อนแย้งเชิงข้อมูลของหลุมดำได้

"รูหนอน" ที่ใช้วอร์ปได้จริง ต้องสร้างตามแบบจำลองจักรวาล 5 มิติ

เราพร้อม "เทเลพอร์ต" กันแล้วหรือยัง ?

ดร. โจเซฟ ลีกเคน หนึ่งในสมาชิกทีมวิจัยจากห้องปฏิบัติการเฟอร์มีแล็บ (Fermilab) กล่าวอธิบายว่า “เราสามารถเปรียบเทียบรูหนอนที่เกิดขึ้นในแบบจำลองคอมพิวเตอร์นี้กับแอนิเมชันรูปเป็ด มันมีรูปร่างเหมือนเป็ด เดินเหมือนเป็ด และร้องเหมือนเป็ด แต่มันไม่ใช่เป็ดที่เป็นสัตว์มีชีวิตจริง ๆ”

ดร. มาเรีย สไปโรปูลู สมาชิกทีมวิจัยอีกผู้หนึ่งจากสถาบันเทคโนโลยีแห่งแคลิฟอร์เนีย (CalTech) บอกว่า “แม้เราจะยังไม่ได้สร้างรูหนอนของจริงขึ้นมา แต่การจำลองรูหนอนขนาดจิ๋วนี้จะเป็นหนทางไปสู่การจำลองรูหนอนที่มีขนาดใหญ่ขึ้นและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการใช้ศึกษาทดลองทฤษฎีฟิสิกส์ขั้นสูง เช่นทฤษฎีความโน้มถ่วงเชิงควอนตัม”

“หนทางยังอีกยาวไกลกว่าที่เราจะสามารถเทเลพอร์ตคน สัตว์ หรือสิ่งของต่าง ๆ ผ่านรูหนอนได้จริง แต่การจำลองรูหนอนด้วยคอมพิวเตอร์ควอนตัมในครั้งนี้เป็นเครื่องพิสูจน์ในทางทฤษฎีว่า การเดินทางข้ามห้วงจักรวาลผ่านรูหนอนนั้นเป็นไปได้จริงอย่างแน่นอนในอนาคต” ดร. สไปโรปูลู กล่าวสรุป



ย้อนกลับไปยัง

ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: 1 และ บุคคลทั่วไป 0 ท่าน

cron