7 โรคพืชทุเรียนจากเชื้อรา ที่เกษตรกรควรรู้จัก

ภาพประจำตัวสมาชิก
admin
Administrator
Administrator
โพสต์: 13567
ลงทะเบียนเมื่อ: พฤหัสฯ. 21 พ.ค. 2015 12:14 pm
กลุ่ม: ผู้ดูแลระบบ

7 โรคพืชทุเรียนจากเชื้อรา ที่เกษตรกรควรรู้จัก

โพสต์โดย admin » อังคาร 25 ม.ค. 2022 11:02 am

7 โรคพืชทุเรียนจากเชื้อรา ที่เกษตรกรควรรู้จัก

โรคพืชเป็นปัญหาที่ต้องเฝ้าระวังไม่แพ้โรคภัยไข้เจ็บในคน พืชเศรษฐกิจที่สำคัญและราคาแพงอย่างทุเรียนก็เช่นกัน กว่าจะได้ผลสวยๆออกมาอย่างที่เราเห็นตามท้องตลาด ต้องใช้เวลาปลูกอย่างยากลำบากหลายปี ถ้าหากชะล่าใจไปเพียงเล็กน้อย ก็อาจเสียทั้งผลผลิตทั้งต้นทุนไปได้มหาศาล

และต่อไปนี้ก็เป็นโรคพืชที่สำคัญในทุเรียน ที่เราได้เลือกแล้วว่าเกษตรกรควรรู้จักและทำความเข้าใจกับวิธีป้องกันมากเป็นพิเศษ เพราะทุกโรคมีสาเหตุมาจากเชื้อรา สังเกตเห็นไม่ได้ง่ายๆเหมือนแมลงศัตรูพืช อีกทั้งยังสามารถลุกลามได้ไวกว่าที่คิด

โรคพืชในทุเรียนที่เกิดมาจากเชื้อรา มีอะไรบ้าง?

7-โรคพืชทุเรียนจากเชื้อรา-ที่เกษตรกรควรรู้จัก_b2.png
7-โรคพืชทุเรียนจากเชื้อรา-ที่เกษตรกรควรรู้จัก_b2.png (1.46 MiB) เปิดดู 542 ครั้ง

1.โรคไฟทอปธอร่า
โรคพืชที่สร้างปัญหาให้กับเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนเป็นอันดับ 1 สำหรับโรคไฟทอปธอร่านี้ มีสาเหตุมาจาก Phytophthora spp. โดยตัวเชื้อจะเริ่มแพร่เข้าสู่ทุเรียนได้ทั้งทางรากและโคนต้น จากนั้นจะเริ่มไปทางท่อลำเลียงน้ำ และลุกลามไปทั่วลำต้น

อาการของโรคแสดงออกมาได้หลายอย่าง เช่น รากเน่า โคนเน่า ใบเหลือง แห้ง และร่วง ทั้งหมดนี้สามารถทำความเสียหายได้ตั้งแต่ผลทุเรียนไม่สมบูรณ์ ไปจนถึงทุเรียนเสียหายทั้งต้นจนต้องโค่นทิ้ง แต่ประเด็นที่น่ากลัวจริงๆอยู่ตรงที่ว่า ถึงแม้จะโค่นทุเรียนต้นเดิมทิ้งไปแล้ว ถ้าหากมีการปลูกทุเรียนใหม่ในพื้นที่เดิม ตัวเชื้อก็อาจจะยังอยู่ได้ และทำลายทุเรียนต้นใหม่ไปได้เรื่อยๆไม่รู้จบ ถ้าหากเกษตรกรไม่ลงมือแก้ไขอย่างจริงจัง

7-โรคพืชทุเรียนจากเชื้อรา-ที่เกษตรกรควรรู้จัก-04.png
7-โรคพืชทุเรียนจากเชื้อรา-ที่เกษตรกรควรรู้จัก-04.png (929.95 KiB) เปิดดู 542 ครั้ง

2. โรคแอนแทรคโนส
เกิดมาจากเชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides จะเข้าทำลายต้นทุเรียนในช่วงที่ช่อดอกเริ่มบาน ดังนั้นจะสังเกตเห็นได้โดยง่ายว่าดอกจะมีสีช้ำๆดำๆ และมีรอยราสีเทาๆด้วย

ปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้โรคยิ่งลุกลาม คือการที่เกษตรกรปลูกทุเรียนติดกันมากเกินไป และพุ่มกิ่งทุเรียนรกเกินไป ดังนั้นหนึ่งในวิธีที่จะช่วยแก้ปัญหาได้ คือควรเว้นระยะห่างของทุเรียนแต่ละต้น อีกทั้งยังควรหมั่นตัดแต่งพุ่มกิ่งให้โปร่งๆ

7-โรคพืชทุเรียนจากเชื้อรา-ที่เกษตรกรควรรู้จัก-05.png
7-โรคพืชทุเรียนจากเชื้อรา-ที่เกษตรกรควรรู้จัก-05.png (1.23 MiB) เปิดดู 541 ครั้ง

3. โรคใบติด
เชื้อราที่เป็นต้นเหตุคือ Rhizoctonia solani อาการที่พบได้เบื้องต้นคือใบจะมีรอยจุดๆ ไหม้ๆ เริ่มจากจุดเล็กๆ แล้วลุกลามได้ทั้งใบ และจะมีเส้นใยที่ดูเหมือนใยแมงมุมปกคลุมใบอยู่ด้วย

ในช่วงหน้าฝน โรคนี้จะยิ่งระบาดง่ายมากเป็นพิเศษ และเพียงแค่ใบที่มีอาการของโรคไปสัมผัสถูกใบอื่นที่ปรกติดี ก็สามารถทำให้ใบอื่นติดโรคไปด้วย และก็จะลุกลามไปได้(เกือบ)ทั้งต้น ดังนั้นถ้าเกษตรกรคนไหนปลูกทุเรียนแบบติดแน่นกันเกินไป ก็เท่ากับเป็นการเพิ่มเปอร์เซ็นต์การลุกลามของโรค เพราะใบทุเรียนจะสีกันตลอดเวลา

7-โรคพืชทุเรียนจากเชื้อรา-ที่เกษตรกรควรรู้จัก-06.png
7-โรคพืชทุเรียนจากเชื้อรา-ที่เกษตรกรควรรู้จัก-06.png (1.06 MiB) เปิดดู 541 ครั้ง

4. โรคราสีชมพู
เกิดมาจากเชื้อราชื่อ Cortricium Salmonicolor อาการของโรคจะสังเกตได้ชัดที่กิ่ง คือกิ่งจะดูแห้งๆ มีจุดสีเหลืองๆขึ้นตะปุ่มตะป่ำและร่วงหล่นลงไปเป็นครั้งๆ นอกจากนี้จะมีเส้นใยเชื้อราเป็นขุยๆสีชมพูด้วย ถ้าปล่อยไว้นานๆกิ่งจะเริ่มแตก และแห้งตายได้

ดังนั้นเกษตรกรจึงต้องตาไว สังเกตให้ดีว่ากิ่งไหนมีอาการของโรค ให้รีบตัดออกและนำไปเผาทิ้ง เพื่อไม่ให้โรคแพร่กระจาย นอกจากนี้การตัดแต่งกิ่งทุเรียนให้อากาศถ่ายเทง่ายก็เป็นอีกหนทางที่ดี

7-โรคพืชทุเรียนจากเชื้อรา-ที่เกษตรกรควรรู้จัก-07.png
7-โรคพืชทุเรียนจากเชื้อรา-ที่เกษตรกรควรรู้จัก-07.png (1.28 MiB) เปิดดู 541 ครั้ง

5. โรคราแป้ง
เชื้อราที่เป็นตัวการคือ Oidium sp. โดยสามารถเข้าทำลายทุเรียนได้ตั้งแต่ช่วงดอกบานจนถึงช่วงเริ่มติดผล อาการที่พบคือ บริเวณดอกหรือผลจะมีผงเชื้อราสีขาวๆคล้ายแป้ง ทำให้ไปรบกวนการเจริญเติบโตของทุเรียน ผลออกมาไม่สวย รสชาติไม่ดี ไม่สามารถนำไปขายได้

7-โรคพืชทุเรียนจากเชื้อรา-ที่เกษตรกรควรรู้จัก-08.png
7-โรคพืชทุเรียนจากเชื้อรา-ที่เกษตรกรควรรู้จัก-08.png (1.22 MiB) เปิดดู 541 ครั้ง

6. โรคราดำ
สาเหตุคือเชื้อรา Polychaeton sp., Tripospermum sp. ส่วนที่จะเสียหายคือผล อาการที่พบคือผลจะมีรอยแผลสีดำๆประปราย ทำให้ผลทุเรียนราคาตกได้หรืออาจขายไม่ได้เลย เนื่องจากมีตำหนิ

โรคราดำมีพาหะนำโรคที่สำคัญคือเพลี้ยหอย เพลี้ยแป้ง เพลี้ยไก่แจ้

7-โรคพืชทุเรียนจากเชื้อรา-ที่เกษตรกรควรรู้จัก-09.png
7-โรคพืชทุเรียนจากเชื้อรา-ที่เกษตรกรควรรู้จัก-09.png (1.46 MiB) เปิดดู 541 ครั้ง

7. โรคผลเน่า
สาเหตุคือเชื้อราชื่อ Phytophthora palmivora ซึ่งเป็นเชื้อตัวเดียวกับโรครากเน่าและโคนเน่า สามารถเข้าทำลายผลทุเรียนได้ทั้งช่วงอ่อนและช่วงแก่ อาการของโรคที่สังเกตได้คือ ผลทุเรียนจะมีรอยราขาวๆ ดูคล้ายผงแป้ง มีรอยช้ำเป็นจ้ำๆ เน่าไปถึงเนื้อได้ ทำให้ผลทุเรียนขายไม่ได้ราคา

ทันทีที่เกษตรกรสังเกตเห็นอาการของโรค อย่าเสียดาย ให้รีบนำผลที่เป็นโรคไปเผาทิ้งไม่อย่างนั้นแล้วทุเรียนลูกอื่นๆจะติดโรคไปด้วย และเพื่อให้ได้ผลดียิ่งขึ้น ควรป้องกันและกำจัดรากเน่าโคนเน่าควบคู่กันไปด้วย

https://www.icpladda.com/%E0%B8%9B%E0%B ... %E0%B8%81/



ภาพประจำตัวสมาชิก
admin
Administrator
Administrator
โพสต์: 13567
ลงทะเบียนเมื่อ: พฤหัสฯ. 21 พ.ค. 2015 12:14 pm
กลุ่ม: ผู้ดูแลระบบ

ทุเรียน : ขอบใบไหม้ ขอบใบแห้ง ใบแพ้แดด(Sun Burn)

โพสต์โดย admin » อังคาร 25 ม.ค. 2022 11:24 am

IMG_1836-1024x536.jpg
IMG_1836-1024x536.jpg (114.44 KiB) เปิดดู 541 ครั้ง

โรคใบไหม้ ขอบใบแห้ง เกิดในช่วงที่เริ่มมีความร้อนความแห้งแล้ง มักเกิดในช่วงเดือน พ.ย ที่มีความแห้งแล้ง และ มีการควบคุมการให้น้ำ เพื่อชักนำการออกดอก โดยปกติแล้วใบเป็นแหล่งผลิตพลังงาน ตามขอบใบจะมีรูเปิด ที่เรียกว่าปากใบ ปากใบนี้จะเปิดเมื่อเริ่มมีแสงแดด และ ก็จะเริ่มดูดน้ำเข้าทางหมวกราก และคายน้ำออกทางปากใบนี้เอง แต่เมื่อมีการคายน้ำมาก ดูดน้ำเข้าไม่พอปากใบจะเริ่มเป็นแผล โดยอาการที่สังเกตุได้จะมีด้วยกัน 3 รูปแบบ

ใบไหม้ที่ท้องใบ เริ่มจากใบซีดเหลือง แล้วเริ่มเกิดเป็นแผลไหม้ สีน้ำตาลที่กลางใบ เกิดจากใบคายน้ำมาก ความสมบูรณ์ของเนื้อใบมีน้อยลงทำให้ความร้อนจากแสงแดด มาเข้าทำลายเกิดแผลที่เนื้อใบได้
IMG_1834-1024x768.jpg
IMG_1834-1024x768.jpg (106.42 KiB) เปิดดู 541 ครั้ง


2. ใบไหม้ที่ขอบใบ เกิดจากการสุญเสียน้ำ ขาดความสมดุลในต้น น้ำที่คายออกมากกว่าน้ำที่ดูดเข้ามา ก็จะทำให้บริเวณปากใบเป็นแผล ทำให้เชื้อราเข้าแทรกซ้อนทำลายได้ โดยสังเกตุได้ว่ามีเชื้อราเข้าทำลายหรือไม่โดยสังเกตุจาก แผล ถ้าแผลมีการลุกลาม เพิ่มมากขึ้นแสดงว่ามีเชื้อราเข้าทำลายร่วมด้วย
IMG_1832-1024x768.jpg
IMG_1832-1024x768.jpg (138.41 KiB) เปิดดู 541 ครั้ง


3. ไหม้บริเวณปลายใบ เกิดจากการตกค้างของสารเคมีที่เราใช้ในอัตราเข้มข้น หรือ หยดน้ำค้าง ที่ถูกแดดเผาในช่วงบ่าย
IMG_1823-1024x768.jpg
IMG_1823-1024x768.jpg (123.98 KiB) เปิดดู 541 ครั้ง



จากสาเหตุทั้งหมดที่กล่าวมาจึงสรุปได้ว่า ต้นเหตุของอาการ คือการขาดความสมบูรณ์ โดยอาการที่แสดงออกมาเหล่านี้ส่วนมากจะเป็นแค่ด้านเดียว โดยจะเป็นที่ทางด้านทิศตะวันตก ซึ่งเป็นด้านที่รับแดดช่วงบ่าย ที่มีความร้อนสูง โดยสาเหตุที่ทำเป็นเป็นอาการSun Burn ได้มีดังนี้

1. เกิดจากระบบน้ำที่ไม่เพียงพอ

2.ใบยังไม่แก่พอ ทำให้ความต้านทานต่อแสงแดดมีน้อย

วิธีแก้ไข

1. พรางแสง ให้กับระบบราก เช่น คาดหญ้าหรือใบคลุมบริเวณปลายราก ที่มีหมวกรากอยู่ เพื่อช่วยเก็บรักษาความชื้น

2. แก้ไขรัศมีน้ำ ตรวจเช็คระบบน้ำว่าเลยปลายทรงพุ่มหรือไม่เพราะเป็นที่อยู๋ของระบบรากฝอย

3. เสริมภูมิต้านทานให้กับต้นพืชด้วยกลุ่มอะมิโนโปรตีน และ แมกนีเซียม หากมีเชื้อราเข้าทำลาย ป้องกันได้ด้วย แมนโคเซ็บ,คาเบนดาซิม

4. กลุ่มพาราฟินออย ช่วยเคลือบผิวใบป้องกันความร้อนได้

ภาพประจำตัวสมาชิก
admin
Administrator
Administrator
โพสต์: 13567
ลงทะเบียนเมื่อ: พฤหัสฯ. 21 พ.ค. 2015 12:14 pm
กลุ่ม: ผู้ดูแลระบบ

Re: 7 โรคพืชทุเรียนจากเชื้อรา ที่เกษตรกรควรรู้จัก

โพสต์โดย admin » อังคาร 25 ม.ค. 2022 11:30 am

Screenshot_2022-01-25-11-28-42-40_f9ee0578fe1cc94de7482bd41accb329.jpg
Screenshot_2022-01-25-11-28-42-40_f9ee0578fe1cc94de7482bd41accb329.jpg (912.18 KiB) เปิดดู 540 ครั้ง


อาการเกิดจากน้ำที่ใช้รดต้นไม้เป็นกรด
https://youtu.be/3HK10KEBTrU

ภาพประจำตัวสมาชิก
admin
Administrator
Administrator
โพสต์: 13567
ลงทะเบียนเมื่อ: พฤหัสฯ. 21 พ.ค. 2015 12:14 pm
กลุ่ม: ผู้ดูแลระบบ

ระวัง! โรคใบไหม้ของทุเรียน จากเชื้อ ฟิวซาเรียม

โพสต์โดย admin » อังคาร 25 ม.ค. 2022 11:35 am

2-1.jpg
2-1.jpg (112.48 KiB) เปิดดู 540 ครั้ง
5.png
5.png (455.46 KiB) เปิดดู 540 ครั้ง
4.1.png
4.1.png (424.74 KiB) เปิดดู 540 ครั้ง


ลักษณะอาการของโรค
ปลายใบทุเรียนจะเป็นใบแห้งๆ ส่องปลายใบกับแดดจะพบสปอร์เป็นขุยขาวๆ ของเชื้อรา อาจเป็นสีขาวอมชมพูหรือขาวอมส้มติดอยู่ที่ใบ ยอดทุเรียนที่แตกใหม่จะสังเกตขุยสปอร์ทำให้ยอดแห้ง หากเป็นที่กิ่งจะลามรวดเร็วและทำให้กิ่งแห้ง หากพบลักษณะดังกล่าวจะยากต่อการฟื้นต้น สร้างใบอ่อนให้กับพืช ต้นจะอ่อนแอและอาจตายได้





แนวทางการแก้ไข

หากพบอาการของโรค ใช้ ไอโซโพรไทโอเลน 30 ซีซี + นีโอ-ไฟต์ 30 ซีซี +ซีวิว 30 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นทางใบสัก 2 ครั้ง ห่างกัน 5-7 วัน
และควรใช้ ไอโซโพรไทโอเลน ฉีดพ่นสลับกับสารป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น ชีคไบท์ สลับ เบนเอฟ สลับ ไมโครบลูคอป สลับ รัสโซล เพื่อป้องกันเชื้อฟิวซาเรียมและเชื้อราชนิดอื่นๆ ไม่ให้เชื้อกลับมาทำลายพืช ได้อีก

ภาพประจำตัวสมาชิก
admin
Administrator
Administrator
โพสต์: 13567
ลงทะเบียนเมื่อ: พฤหัสฯ. 21 พ.ค. 2015 12:14 pm
กลุ่ม: ผู้ดูแลระบบ

ร้อนปนฝนให้ระวังโรคใบไหม้ในทุเรียน

โพสต์โดย admin » อังคาร 25 ม.ค. 2022 11:40 am

Screenshot_2022-01-25-11-39-15-80_40deb401b9ffe8e1df2f1cc5ba480b12.jpg
Screenshot_2022-01-25-11-39-15-80_40deb401b9ffe8e1df2f1cc5ba480b12.jpg (978.3 KiB) เปิดดู 540 ครั้ง


สภาพอากาศร้อนชื้น เวลากลางวันมีแดดจัด และมีฝนตกในบางพื้นที่ช่วงนี้ กรมวิชาการเกษตร แนะเกษตรกรชาวสวนทุเรียนเฝ้าระวังการระบาดของโรคใบไหม้หรือโรคใบติด สามารถพบได้ในระยะการเจริญเติบโตทางลำต้น อาการเริ่มแรกจะพบบนใบมีแผลคล้ายถูกน้ำร้อนลวก ต่อมาแผลจะขยายตัวและเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล มีขนาดและรูปร่างไม่แน่นอน จากนั้นจะลุกลามไปยังใบปกติข้างเคียง กรณีที่มีความชื้นสูงเชื้อราสาเหตุโรคจะสร้างเส้นใยคล้ายใยแมงมุมยึดใบให้ติดกัน ใบที่เป็นโรคจะแห้งติดอยู่กับกิ่งก่อนหลุดร่วงไปสัมผัสกับใบที่อยู่ด้านล่าง ทำให้โรคระบาดลุกลามจนใบไหม้เห็นเป็นหย่อมๆ ใบแห้งติดกันเป็นกระจุกแขวนค้างตามกิ่ง ต่อมาใบจะร่วงจนเหลือแต่กิ่ง และกิ่งแห้งในที่สุด ทำให้ต้นทุเรียนเสียรูปทรง


ย้อนกลับไปยัง

ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: 1 และ บุคคลทั่วไป 0 ท่าน

cron