2. จับตาวิกฤติกรีซ วิกฤติยูเครน & วิกฤติISIS
แม้แต่นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบล2คน คือนายJoseph Stiglitz และนายPaul Krugmanยังไม่เห็นด้วยกับมาตรการเข้มของนายทุนหน้าเลือดทรอยก้าที่ไล่บี้กรีซจนแทบจะกระอักตาย Stiglitzบอกว่าทรอยก้าควรที่จะให้เงื่อนไขที่ผ่อนปรนมากกว่านี้เพื่อให้กรีซสามารถจะหายใจได้ การบีบรัดทางเศรษฐกิจแบบนี้มีแต่ทำให้วิกฤติเศรษฐกิจของกรีซพังหนักลงไปอีก ส่วนนายKrugmanบอกว่าการบังคับให้กรีซดำเนินนโยบายงบประมาณเกินดุล4.5%ต่อจีดีพีเท่ากับเป็นการรีดเลือดกับปู
แต่ตอนนี้เลือดเข้าตาทั้งเจ้าหนี้และลูกหนี้ ถ้าทรอยก้าปล่อยให้ลูกหนี้เป้นกบฎได้ หรือมีเงื่อนไขลดหนี้ ขยายเวลาชำระหนี้ออกไป เจ้าหนี้ที่มีฐานะการเงินที่ง่อนแง่นอยู่แล้วจะจมน้ำตายไปด้วย ด้วยเหตุนี้ทางเยอรมันซึ่งคัดค้านการทำQEของธนาคารกลางของสหภาพยุโรปมาตลอด จำต้องยอมให้ECBทำโปรแกรมQEที่มีขนาดทั้งหมด$1.4ล้านล้าน โดยจะทะยอยปั๊มเงินเข้าไปในระบบเพื่อซื้อพันธบัตรรัฐบาลที่ใช้เงินยูโรในระยะ18เดือนข้างหน้า เพื่อช่วยกดดอกเบี้ยให้ต่ำและเป็นการไฟแนนซ์งบประมาณขาดดุลในตัว ถ้าแบงค์มีปัญหา ECBก็พร้อมที่จะเปลี่ยนเงื่อนไขเข้าไปอุ้มเหมือนกับที่ทางUS Federal Reserveได้ทำมาให้ดูเป็นตัวอย่างแล้ว
กรีซเป็นจุดอ่อน หรืออาจจะเป็นจุดตายในขั้นต่อไปของระบบยูโรที่ผิดพลาดตั้งแต่ตอนต้น การเอาประเทศ17ประเทศมารวมกันทางเศรษฐกิจและการเงินโดยใช้เงินสกุลยูโรร่วมกันเป็นความผิดพลาดครั้งใหญ่ เพราะว่าโดยพื้นฐานแล้วความสามารถในการแข่งขันของแต่ละประเทศไม่เท่าเทียมกัน
ประเทศทางยุโรปเหนือจะมีความสามารถในการแข่งกัน (competitiveness) สูงกว่าไม่ว่าจะเป็นเยอรมัน เนเธอร์แลนด์ ฟินแลนด์ เดนมาร์ก ส่วนประเทศยุโรปใต้เช่นโปรตุเกส เสปน ไซปรัส หรือกรีซจะมีความสามารถในการแข่งขันด้อยกว่า ทั้งฝรั่งเศสและอิตาลีถือว่าเป็นส่วนหนึ่งลาตินยุโรป สู้ยุโรปเหนืออย่างเยอรมันไม่ได้ในความแข็งแกร่ง หรือความสามารถในการแข่งขั้นทางเศรษฐกิจ ในเมื่อพื้นฐานแตกต่างกันเช่นนี้ ประเทศที่มีความสามารถในการแข็งขันสูงกว่าจะได้เปรียบดุลการค้าหรือดุลบัญชีเดินสะพัดที่เป็นบวก ส่วนประเทศที่ด้อยกว่าในความสามารถในการแข่งขันจะเสียดุลการค้าหรือดุลบัญชีเดินสะพัดที่ติดลบ
ติดลบทางดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดนานวันเข้ากลายเป็นหนี้สินของประเทศที่เรื้อรัง และยิ่งยุโรปดำเนินนโยบายรัฐสวัสดิการ มีกฎหมายการคุ้มครองแรงงานอย่างดี ภาครัฐมีการใช้จ่ายสูงเมื่อเทียบต่อจีดีพีเพราะว่าใช้ระบบภาษีที่สูงเพื่อเพิ่มบทบาทของรัฐในเศรษฐกิจทำให้เกิดงบประมาณขาดดุลที่เรื้อรัง ทั้งการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดและการขาดดุลงบประมาณที่่เรื้อรังกลายเป็นวิกฤติหนี้ของยุโรปที่แก้ไม่ตกเวลานี้ ทำให้เกิดมีการล้มละลายขึ้นในสมาชิกประเทศที่ต้องได้รับความช่วยเหลือจากทรอยก้าแล้วเช่นกรีซ ไอร์แลนด์ โปรตุเกส
เมื่อมีการใช้เงินสกุลยุโรปยิ่งทำให้การแก้ไขปัญหาของแต่ละประเทศยิ่งจะยุ่งยากมากยิ่งขึ้น
กรีซและประเทศที่เจอวิกฤติในเขตยูโรทำความผิดพลาดอย่างอย่างมหันต์ ที่ยกอำนาจการพิมพ์เงินสกุลของตัวเองให้European Central Bank การใช้เงินสกุลร่วมทำให้ประเทศเล็กๆในเขตยูโรที่ไม่มีอำนาจต่อรองอะไรมากกลายเป็นเชลยของพวกนักการเงินบรัสเซลล์ เขาจะพิมพ์เงินยูโรให้ใช้ก็รอด เขาจะตัดเครดิตไลน์เงินยูโรก็ตาย เนื่องจากกรีซทำท่าจะเบี้ยวแพคเกจการช่วยเหลือทางการเงินของทรอยก้า ECBได้ประกาศแล้วว่าจะไม่รับเอาพันธบัตรรัฐบาลกรีซเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันเงินกู้ระยะสั้น
ถ้าหากว่ากรีซไม่เข้าเขตยูโรโซนเหมือนอังกฤษ หรือเดนมาร์ค จะยังคงรักษาอำนาจอธิปไตยทางนโยบายการเงินได้ เพราะว่าจะพิมพ์เงินDrachmaเท่าไหร่ก็ได้ ถ้าเศรษฐกิจไม่ดีธนาคารกลางของกรีซก็ปั๊มเงินมากหน่อยเข้าไปในระบบการเงิน ถ้าเศรษฐกิจดีก็ดึงเงินออกจากระบบ แต่ตอนนี้ธนาคารกลางของกรีซไม่ได้พิมพ์เงินDrachma และไม่ได้พิมพ์เงินยูโร ทำให้อำนาจในการดูแลปริมาณเงินในระบบมีจำกัดมาก ความยืดหยุ่นในการดำเนินนโยบายทางการเงินไม่มี ต้องขึ้นอยู่กับECBอย่างเดียว
thanong
6/2/2015
source
https://www.facebook.com/ThanongFanclub ... permPage=1