บูรพาไม่แพ้
ฮ่องกงนองเลือด 1967 : ย้อนอดีตประท้วง-จลาจลครั้งร้ายแรงที่สุดในฮ่องกง (1)
.
การชุมนุม #ประท้วงฮ่องกง ครั้งล่าสุด 2019 นี้ อาจจะเป็นครั้งแรกของคนหนุ่มสาวชาว #ฮ่องกง หลายๆ คน โดยเฉพาะรุ่นที่เกิดหลังการส่งมอบเกาะฮ่องกงอดีตอาณานิคมอังกฤษคืนสู่ #จีน แต่สำหรับชาวฮ่องกงผู้มีอายุเกินกว่า 60 ปี หรือชาวจีนแผ่นดินใหญ่ที่อพยพว่ายน้ำข้ามฝั่งมา ต่างเคยได้รู้ - เห็นและบ้างเคยมีส่วนร่วม ไม่มีวันลืมเหตุการณ์ประท้วงที่บานปลายกลายเป็นการจลาจลครั้งรุนแรงที่สุดของฮ่องกง เมื่อ 52 ปีก่อน (1967)
ข้อมูลทางการเผยการประท้วงครั้งนั้น ประชาชนเสียชีวิต 51 คน บาดเจ็บ 802 คน ถูกจับกุม 4,979 คน และศาลพิพากษาต้องโทษจำคุก 1,936 คน
#การจลาจลปี1967 #六七暴動 เป็นการชุมนุมต่อเนื่องระยะเวลานานถึง 6 เดือน เริ่มจากเพียงประท้วง นัดหยุดงานในเดือนเมษายน-พฤษภาคม จากนั้นชุมนุมบนถนนเดือนมิถุนายน บานปลายกลายเป็นก่อความรุนแรง จลาจล ในเดือนกรกฏาคม และที่สุดจนถึงเข้าขั้นก่อการร้าย สังหารนักข่าว และ ลอบวางระเบิด
ในเวลาที่ความรุนแรงมากที่สุดนั้น มีผู้ก่อเหตุทำระเบิดวางทั่วเมืองฮ่องกง มีทั้งระเบิดจริงและปลอม หลอกล่อให้ทางการสับสน ตำรวจผู้เชี่ยวชาญ และหน่วยเก็บกู้ระเบิดจากกองทัพอังกฤษ ต้องเก็บ-กู้-ปลดชนวนระเบิด มากกว่า 8,000 จุด โดยจำนวนนั้นเป็นระเบิดจริงมากถึง 1,100 จุด
ชีวิตชาวฮ่องกงเวลานั้นเหมือนอยู่ในภาวะสงคราม ทุกสิ่งหยุดชะงักอย่างรุนแรงและมีผู้เสียชีวิต รวมถึงชีวิตของเด็กหญิงอายุแปดขวบ "หว่องยีมัน" และน้องชายอายุสองขวบของเธอ "หว่องซิวฟาน" ซึ่งเสียชีวิตจากระเบิด ที่คนร้ายวางห่อเหมือนของขวัญวางไว้หน้าที่พักอาศัยของเธอ
จุดเริ่มต้นของการจลาจลในปี 1967 นั้นเริ่มขึ้นในฤดูร้อน เดือนพฤษภาคม เป็นการจลาจลต่อต้านรัฐบาลฮ่องกง ซึ่งในเวลานั้นอยู่ใต้อาณัติปกครองของอังกฤษ มีผู้ว่าการฯ คือ เดวิด เทรนช์
ขบวนการที่สนับสนุน #พรรคคอมมิวนิสต์ ในฮ่องกงซึ่งเรียกตนว่า "#กลุ่มต่อสู้ต่อต้านการกดขี่ข่มเหงอังกฤษ" (The Anti-British Persecution Struggle) ได้เคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาลใต้อาณัติอังกฤษ ตั้งฉายาชาวตะวันตกว่า "หมูอ้วนเผือก" กับ ชาวจีนที่ฝักใฝ่ตะวันตกว่า "สุนัขรับใช้ผิวเหลือง"
แต่ก่อนที่จะถึงวันวิปโยคจลาจล 1967 ฮ่องกงในห้วงเวลานั้น (ตั้งแต่สถาปนาจีนใหม่ ค.ศ.1949) ก็เหมือนภูมิภาคอื่นๆ ในเอเชีย ซึ่งเป็นเสมือนแผ่นดินหลบภัยสำหรับชาวจีนอพยพนับล้านที่หนีแผ่นดินใหญ่ไปตายดาบหน้า อดทนกับสภาพชีวิตแร้นแค้น เป็นพลเมืองชั้นสอง ยังชีพโดยใช้แรงงานที่ตนมีทำงานกุลีกรรมกร ได้ค่าแรงมากที่สุดเพียงวันละ 10-12 ดอลลาร์ฮ่องกง และไม่มีสวัสดิการอื่นใด
ยุค 60 สถานการณ์บ้านเมืองในฮ่องกง ครอบคลุมด้วยบรรยากาศแห่งความไม่พอใจต่อการปกครองอาณานิคมของอังกฤษ สภาพความเป็นอยู่และสภาพการทำงานของประชากรทั่วไปลำบากยากเข็ญ สังคมฮ่องกงเวลานั้น เต็มไปด้วย การคอร์รัปชั่นทุกหัวระแหง การทุจริตในเจ้าหน้าที่เป็นที่แพร่หลาย ทุกที่มีการกดขี่ไร้ความเป็นธรรม ประชาชนหมดความไว้วางใจตำรวจ และเจ้าหน้าที่รัฐฯ ซึ่งเป็นปัจจัยสั่งสมให้ทั้งชาวฮ่องกงและชาวจีนอพยพไม่พอใจ แต่ต้องเก็บกดความไม่พอใจไว้ แม้เรียกร้องแต่รัฐบาลใต้อาณัติอังกฤษไม่ได้มีทีท่าสนใจตอบสนองดูแล หรือคุ้มครองปัญหาปากท้องแรงงานของประชาชนเลย
ประชาชนอดทนทำมาหากิน แต่ก็มีสภาพเหมือนระเบิดเวลาที่รอจุดชนวนเท่านั้น
จนกระทั่งเมื่อ เศรษฐกิจฮ่องกงทรุด ในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 1965 ธนาคาร Canton Trust and Commercial Bank (廣東信託銀行) ล้ม และรัฐบาลเข้าไปอุ้มแต่ก็ไม่ไหว ไม่กี่วันต่อมาวิกฤติการเงินการธนาคารในฮ่องกง ตามมาเป็นระลอกสอง ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไปทั่ว
ประชาชนรากหญ้าฮ่องกงจากที่ถูกกดขี่ ก็กลายเป็นถูกกดทับชีวิตซ้ำอย่างรุนแรง
.
*** จลาจลในปี 1966 ***
หลังอดทนกับสภาพชีวิต และอดกลั้นกับความอยุติธรรมมานาน ในที่สุดการต้องจ่ายเพิ่มค่าเรือโดยสารข้ามฟากอีก 5 เซนต์ (Star Ferry) ก็กลายเป็นไฟจุดชนวนระเบิด ปลดปล่อยความโกรธแค้น
ในเดือนเมษายน ปี 1966 บริษัทเดินเรือโดยสารข้ามฟาก Star Ferry ได้เพิ่มค่าเรือโดยสาร 5 เซนต์ (หรือประมาณ 25%) ก่อความเดือดร้อนให้ประชาชน จนมีนักศึกษาอายุ 27 ปี คนหนึ่ง ชื่อ "โซวส่าวจ้ง" (蘇守忠) ประท้วงโดยสงบด้วยการอดอาหาร ที่อาคารผู้โดยสาร Edinburgh Place เพื่อให้ทางการช่วยดูแลรับฟังปัญหา
โซวส่าวจ้ง คนหนุ่มผู้ประท้วงอดอาหารในวันนั้น ปัจจุบันอายุย่าง 80 ปีแล้ว ถือครองบวชเป็นพระภิกษุ ได้เคยให้สัมภาษณ์ย้อนเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ว่า
"ในเวลานั้น อาตมามีความคิดว่าต้องทำอะไรสักอย่าง มันเป็นแรงกดดันคุกรุ่นอยู่ภายในที่ต้องปลดปล่อยออกมา"
วันที่ 4 เมษายน 1966 -
ในตอนเช้าของวันที่ 4 เมษายน โซวส่าวจ้ง ชายหนุ่มวัย 27 ปี ที่ทำงานเป็นนักแปล เริ่มการประท้วงอดอาหาร ที่ Star Ferry Termina
https://mobile.facebook.com/story.php?s ... ed_comment