7. สู่การศึกษาในอุดมคติ
ขงจื๊อ (551 - 479 ก่อนคริสตกาล)มีอิทธิพลสูงในการวางรากฐานทางการศึกษาให้กับจีน โดยที่การศึกษาในบริบทของขงจื้อคือการหล่อหลอมให้คนเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม ให้รู้จักการทำตามหน้าที่ มีความจงรักภักดีต่อชาติบ้านเมือง และมีความซื่อสัตย์สุจริต
ขงจื้อให้ความสำคัญกับพิธีการโบราณมาก และเน้นการเคารพบรรพบุรุษเมื่อให้ทุกคนมีสำนึกและมีความกตัญญูต่อรากเหง้าของตัวเอง
วิชาหลักในหลักสูตรขงจื้อคือพิธีกรรม ดนตรี ยิงธนู ขี่ม้า ประวัติศาสตร์ และคณิตศาสตร์
เราสามารถแบ่งเป็นหมวดหมู่ได้คือ 1. พิธีกรรม ดนตรี และประวัติศาสตร์ เป็นส่วนหนึ่งของศิลปศาสตร์ (liberal arts)
2. คณิตศาสตร์ เป็นส่วนหนึ่งของวิทยาศาสตร์ (science)
3. ยิงธนู และขี่ม้าเป็นส่วนหนึ่งพละศึกษา (physical education) เพราะว่าทุกคนต้องมีร่างกายแข็งแรง มีทักษะในการรบและพร้อมที่จะเข้ารับราชการทหารเมื่อบ้านเมืองต้องการ
นอกจากวิชาการแล้ว ขงจื้อจะเน้นค่านิยมของคุณธรรมทั้งสามประการคือภูมิปัญญา เมตตากรุณาและความกล้าหาญ นักเรียนของขงจื้อยังถูกบ่มเพาะในเรื่องจิตใจที่ตั้งอยู่บนมรรควิถี มีคุณธรรม มีคุณธรรมทั้งจิตใจและความประพฤติ มีภาษาและการพูดจาที่สละสลวย มีความรอบรู้เกี่ยวกับกิจการบ้านเมือง และดื่มด่ำในรสของวรรณคดี
นอกจากนี้ ขงจื้อให้ความสำคัญกับปรัชญาสังคมและการเมือง ประเด็นคือทำอย่างไรให้คนอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข สังคมเดินหน้าและพัฒนาไปได้ โดยที่ผู้ปกครองและผู้ถูกปกครองรู้่จักหน้าที่และความรับผิดชอบ มีคุณธรรมประจำใจ และมีจิตสำนึกทางประวัติศาสตร์หรืออารยธรรมของบ้านเมือง
หลักของวปรัชญาทางสังคมของขงจื้อมีดังนี้
1. ผู้ปกครองกับผู้อยู่ใต้การปกครอง โดยผู้ปกครองผู้ปกครองแสดงความนับถือให้เกียรติ ส่วนผู้อยู่ใต้ปกครองก็ต้องจงรักภักดี
2. บิดามารดากับบุตรธิดา โดยบิดามารดาให้ความเมตตากรุณา ส่วนบุตรธิดาก็มีความกตัญญูกตเวที
3. สามีกับภรรยา โดยสามี มีคุณธรรม ฝ่ายภรรยาก็ต้องเชื่อฟัง
4. พี่กับน้อง โดยที่วางตัวให้สมกับเป็นพี่ ส่วนน้องก็เคารพเชื่อฟัง
5. เพื่อนกับเพื่อน ต่างก็ต้องทำตัวให้น่าเชื่อถือและไว้วางใจกันได้
หลักสูตรสำหรับผู้ปกครองของบงจื้อมีอยู่ 9 ประการ ดังนี้คือ
1. การอบรมตนให้มีคุณธรรม
2. การยกย่องผู้มีความรู้ความสามารถ
3. การปฏิบัติหน้าที่อย่างดีที่สุด ตามความสามารถเหมาะสมกับฐานะบุคคลในสังคม
4. การยกย่องขุนนางผู้ใหญ่หรือผู้มีอำนาจในแผ่นดิน
5. การแผ่พระคุณไปในหมู่ขุนนางผู้น้อง
6. การแผ่ความรักไปในหมู่ราษฎร ดุจบุตรธิดาในอุทร
7. การสนับสนุนส่งเสริมศิลปวิทยาและอาชีพต่างๆ ให้เจริญ
8. การต้อนรับชาวต่างชาติที่เข้ามาค้าขายหรือสวามิภักดิ์
9. การผูกมัดน้ำใจเจ้าครองนครทั้งหลายด้วยไมตรี
โดยรวมแล้ว การศึกษาในระบบขงจื้ออาจจะดูไม่ได้แตกต่างจากระบบของกรีกโบราณมากนัก แต่สิ่งที่การศึกษากรีกไม่ได้เน้นคือเรื่องการศึกษาที่หล่อหลอมให้คนเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมผ่านพิธีกรรมและจารีตประเพณี อาจช่วงยุคทองของกรีซที่นักปรัชญามีชื่อเสียงมีชีวิตอยู่คือ โสกราตีส เพลโต และอริสโตเติ้ล กรีซไม่ได้ต่อยอดจากพื้นฐานจากอารยะธรรมที่เก่าแก่ก่อนหน้านั่้น ไม่เหมือนกับจีนที่อารยะธรรมเก่าแก่มีมานานหลายพันปีก่อนขงจื้อเกิด
ด้านจิตใจ แม้ว่ากรีกโบราณจะเน้นความดีหรือคุณภาพจิตใจที่สูงส่ง แต่เรื่องคุณธรรมไม่มีความลึกซึ้งเท่ากับขงจื้อ และเทียบไม่ได้กับหลักของพรหมวิหาร4และคำสั่งสอนอื่นๆด่้านคุณธรรมและความดีของพระพุทธเจ้า ความเมตตากรุณาไม่ได้มีอยู่ในศัพท์ของกรีกโบราณที่เป็นรากฐานของอารยะธรรมตะวันตก สะท้อนให้เห็นว่าคนโบราณในโลกตะวันออกมีจิตใจที่ละเมียดละไม สูงส่งกว่าคนในโลกตะวันตกมากนักอย่างเทียบกันไม่ได้
thanong
8/8/2015
https://th.wikipedia.org/wiki/ขงจื๊อ
source
https://www.facebook.com/ThanongFanclub ... 59203341:0