Bunnaroth Buaklee ได้เพิ่มรูปภาพใหม่ 3 ภาพ
เมื่อวานนี้ เวลา 8:12 น. ·
ม.44 รถไฟไฮสปีดจีน
พอราชกิจจานุเบกษา ประกาศ ม.44 ให้โครงการรถไฟจีนสายโคราช ที่จะต่อไปถึงหนองคายในอนาคตได้เดินหน้า เมื่อวานเย็น ก็มีแถลงการณ์ของ วสท. วิศวกรรมสถานฯ ออกมาไม่เห็นด้วยทันที
วงในรู้กันมานานพอสมควรว่า การเจรจารถไฟไทย-จีน คืบเหมือนไม่คืบมาเกืนครึ่งปี ทั้งๆ ที่บรรลุหลักการใหญ่ไปหมดแล้ว แต่ที่ต้องประชุมรอบที่ 17.. 18 .... เรื่อยมา มีแต่วาระรายละเอียด หยุมหยิม
คนของประเทศคอมมิวนิสต์ที่ชินความเบ็ดเสร็จรวดเร็ว คงคิดอย่างอื่นไม่ได้ นอกเสียจากคิดว่า มีใครสั่งเตะถ่วง !
เหตุผู้นำไทยไม่ได้รับเชิญร่วมวง BRI เมื่อพฤษภาคม น่าจะมาจากรถไฟไม่คืบด้วย (นอกเหนือจากกรณีท่าทีอื่นที่พยายามบาลานซ์อำนาจแบบ Siamese talk)
ไทยเราน่ะ เลือกยุทธศาสตร์/ตำแหน่ง ประเทศบนหลักเปิดกว้างและถ่วงดุล ตามแนวเดิมที่เคยปฏิบัติ ในท่ามกลางกระแสลมบูรพาพัดจัด โอเคล่ะ ไอ้ที่เอียงไปทางจีนกว่าเดิมก็เยอะ แต่ก็ยังมีก๊อกสองสาม ดึงญี่ปุ่น เกาหลี ไม่ทิ้งสัมพันธ์เดิมค่ายตะวันตก
ยุทธศาสตร์ดังกล่าวสะท้อนออกมา ผ่านรายละเอียดของโครงการระเบียงศก.ตะวันออก EEC /
แต่อีกทางหนึ่งก็ต้องไม่ให้เกิดความเข้าใจผิด มันจึงมีสัญญาณระดับสูงออกมาแต่เดือนก่อน (หลัง BRI จบไม่นาน) ว่า รถไฟไทยจีนสร้างปีนี้แน่นอน ... ซินหัวลงข่าวก่อนสื่อไทยเสียอีก
แล้วก็ตามมาด้วยดาบ ม. 44 เมื่อวาน !
เรื่องนี้มองได้หลายด้าน แต่ละมุมก็มีเหตุผลของตน
เพราะถ้าผมเป็นข้าราชการประจำที่ต้องรับผิดชอบเกี่ยวกับการเจรจา ผมก็คงต้องหยุมหยิม ไม่ปล่อยให้ผ่าน อะไรที่อันตรายก็ต้องเตะถ่วงไปรอบหน้า ....
เพราะกฎหมายของเราละเอียด ... แต่ถ้าละเอียดไปก็จะกลายเป็นหยุมหยิม / และแยกส่วน เดี๋ยวก็กฎโน่น เดี่ยวกฏนี่... ข้าราชการจึงต้องระวัง ไม่งั้นเปลี่ยนรัฐบาลตัวเองซวย
อะไรบ้างที่เป็นอุปสรรค?
คำตอบก็คือ อะไรทั้งหลายที่ ม.44 กล่าวถึงนั่นล่ะ ระเบียบพัสดุ /-การจัดซื้อ/ ราคากลางทั้งหลาย รวมไปถึง กฎหมายของสภาวิชาชีพวิศวกรรมฯ
จีนบอกว่า เฮ้ยจะให้คนของอั๊วะ ไปยื่นขอใบอนุญาตสอบความรู้เรื่องเทคโนโลยีไฮสปีดกับสภาของลื้อได้ยางงาย ...ในเมื่อประเทกไทย ไม่เคยมีไฮสปีด
มองจากมุมจีนก็ใช่ พอเข้าใจได้ว่าทำไมเขาจึงมองว่าเราโยเย
แต่หากมองจากมุมของ วสท. ก็ต้องพยายามปกป้องวิชาชีพ บอกว่ามันมีเทคนิคอื่นเยอะแยะ ให้เขาทำมาหากินแล้วต้องเข้าระบบของเรา รวมถึงการถ่ายทอดเทคโนโลยี
ผมเขียนไปบ่อยครั้งมาก ว่า ระบบ/ระเบียบแบบราชการบ้านเรา มันมีมานาน ยิ่งพัฒนายิ่งรวมศูนย์แบบต่างคนต่างใหญ่ จนกลายเป็นหยุมหยิม ... พอมาเจอการเปลี่ยนแปลงใหม่ ที่มีรอบการแข่งขันเร่งรัดขึ้น เดิมพันสูงขึ้น กฎของเรากลายเป็นเครื่องถ่วง
มันถึงต้องมี super structure การบริหารแบบเบ็ดเสร็จพิเศษ ครอบระบบเดิมอีกทอด (แปลว่าระบบเดิมรองรับไม่ไหว)
การผ่าทางตันด้วย ม.44 รอบนี้ ก็เป็นอีกครั้งหนึ่ง
คำถามใหญ่ๆ คือ หมดจากรัฐบาลนี้ ต่อไปเราจะอยู่กันยังไงในโลกต้นศตวรรษ 21 ที่จะมีการเปลี่ยนผ่านครั้งใหญ่ กระแสคลื่น disruptive พัดกระหน่ำ... จะอยู่ยังไง ภายใต้โครงสร้างของระบบบริหารราชการแบบเดิม