คำเตือน! โปรอเมริกาอ่านข่าวนี้แล้วอาจจะยอมรับความจริงไม่ได้ อาจจะเกิดอาการคลุ้มคลั่ง ตีอกชกตัว ไล่งับหางตัวเองก็ได้ ดังนั้น... แอ็ดมินขอแนะวิธีง่ายๆในการระงับอารมณ์ของตัวเองก่อนจะเป็นอันตรายต่อตัวเองหรือผู้ใกล้ชิด ให้หลับตา สูดลมหายใจเข้าลึกๆ แล้วค่อยๆปล่อยลมหายใจออกเบาๆ ซักสามรอบ ตั้งสติทำสมาธิให้ดี แล้วค่อยๆอ่านและพิจารณาไปนะ เพราะมันยากที่จะทำใจยอมรับได้ว่าในประเทศสหรัฐฯที่เชิดชูตัวเองนักหนาว่าเป็นประชาธิปไตยนั้น จะมีนักการเมืองระดับชาติเป็นพวกชอบ "สังคมนิยม" (Socialism) นั่งอยู่ในสภาคองเกรสในปัจจุบันนี้ และได้ประกาศลงสมัครเป็นแข่งขันเป็นตัวแทนเลือกตั้งประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกาแล้วด้วย
วันนี้ (14 พ.ค.58) สำนักข่าว sputnik news พาดหัวข่าวตามที่แอ็ดมินได้ตั้งชื่อเรื่องของโพสต์นี้ไว้นั่นแหละ เห็นว่าน่าสนใจดีจึงนำมาเล่าสู่กันฟัง โดยสื่อฯรัสเซียขยายความต่อว่า "ระบบสังคมนิยม (Socialism) ถูกตราหน้าในสหรัฐฯมาเป็นเวลาหลายทศวรรษ (หลายสิบปี) มันจึงยากที่จะจินตนาการถึงคำว่า "นักสังคมนิยมประชาธิปไตย" (Democrat Socialist) อย่างเบอร์นี่ แซนเดอร์ (Bernie Sanders) ใช้เรียกตัวเอง ซึ่งเขาได้รับการสนับสนุนให้เป็นหนึ่งในผู้สมัครแข่งขันลงชิงตำแหน่งประธานาธิบดี [ของสหรัฐฯ] ในปี 2016 โพลล์และการสำรวจความคิดเห็นเมื่อเร็วๆนี้แสดงให้เห็นว่า คำพูดของแซนเดอร์เหมือนสะท้อนให้เห็นถึงผู้มีสิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้งในสหรัฐฯที่เพิ่มมากขึ้น" (ในทางที่สนับสนุนความคิดของแซนเดอร์?)
เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมาเบอร์นี่ แซนเดอร์ได้ประกาศตัวลงแข่งขันเป็นแคนดิเดทตัวแทนผู้สมัครเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯท้าทายกับนางฮิลลารี่ คลินตันในปี 2016 ในนามของพรรคดิโมแครท ปัจจุบันเบอร์นี่ แซนเดอร์เป็นวุฒิสมาชิกจากรัฐเวอร์ม้อนท์ (Vermont) ซึ่งชนะการเลือกตั้งในปี 2012 ด้วยคะแนนเสียง 71% พวกเกจิทางการเมืองทั้งหลายต่างก็มองว่าโอกาสที่เขาจะชนะฮิลลารี่ คลินตันนั้นมีน้อย เนื่องจากดูเหมือนว่าคลิตันจะอาจจะทุ่มเงินหลายล้านดอลล่าร์ในการทำการรณรงค์หาเสียงของเธอ
สื่อรัสเซียบอกว่ามันความผิดปรกติในทางการเมือง (political anomaly) ที่วุฒิสมาชิกแซนเดอร์ปฏิเสธในการขอความร่วมมือจากผู้บริจาครายใหญ่ อันที่จริงวุฒิสมาชิกแซนเดอร์ได้กล่าวเอาไว้ว่า "หนึ่งในจุดมุ่งหมายหลักของเขาก็คือเอาเงินออกจากการเมือง" (มันจะเป็นไปได้รึ?) คำพูดนี้และความล้มเหลวทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯจะเป็นเครื่องมือและเวทีในการหาเสียงของเขา (ฝันนี้ยังไกลไปหรือเปล่าในสังคมประชาธิปไตยแบบหลอกๆอย่างสหรัฐฯ? ต้องอ่านต่อ)
ท่านวุฒิสมาชิกเชื่อว่าระบบเศรษฐกิจของสหรัฐฯนั้นรับใช้เฉพาะผลประโยชน์ของเหล่าคนรวยซึ่งเป็นเพียงคนกลุ่มน้อยในสังคมอเมริกาเท่านั้น ในทางกลับกันคนกลุ่มน้อยเหล่านี้ก็กุมความมั่นคงและอำนาจของพวกเขาเพื่อที่จะรักษาสถานภาพนั้นให้คงอยู่ตลอดไป กล่าวคือคนเหล่านี้มีเพียงแค่ 1% เท่านั้นที่เป็นผู้กำหนดเกมตามอำเภอใจของพวกเขา
การขึ้นภาษีกับบริษัทมหาชนและพวกคนรวย การรับประกันค่าแรงงาน การขยายสิทธิประโยชน์ประกันสังคมและการให้สถานบันทางการศึกษาปลอดหนี้เป็นสิ่งที่แซนเดอร์ได้กล่าวเอาไว้เมื่อหลายปีก่อน ดูเหมือนว่าคำพูดเหล่านี้จะถูกนำไปเป็นวาทกรรมในการหาเสียงทางการเมืองของพวกรีพับลิกันด้วย และมุมมองแบบนี้ของแซนเดอร์ได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นในสังคมอเมริกัน
จากการสำรวจความคิดเห็นในปี 2014 โดย Pew พบว่าชาวอเมริกัน 60% มีความเห็นร่วมกันว่าระบบเศรษฐกิจของสหรัฐฯเอื้อประโยชน์ให้เฉพาะกลุ่มคนรวยอย่างไม่เป็นธรรม ส่วนโพลล์จากค่าย AP/GfK บอกว่าชาวอเมริกันสองในสามคิดว่าพวกคนรวยจ่ายภาษีน้อย (กว่าประชากรส่วนใหญ่ของอเมริกา) ในขณะที่โพลล์จากค่าย HuffPost/YouGov เปิดเผยข้อมูลว่าสองในสามของพลเมืองชาวอเมริกันมีความเห็นว่าพวก CEO (ผู้บริหารระดับสูงของบริษัทเอกชน) ได้รับผลตอบแทนที่สูงมาก
นอกจากนี้แล้วยังมีกลุ่มเคลื่อนไหว นักกิจกรรมและองค์กรต่างๆอีกมากมายที่สนับสนุนความคิดเห็นของแซนเดอร์ Paul Krugman และ Joseph Stiglitz เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพกล่าวว่านโยบายด้านการค้าขายของสหรัฐฯนำไปสู่ความไม่เท่าเทียมกัน (US trade policies contribute to inequality)
สหรัฐฯนั้นใช้ระบบเศรษฐกิจแบบ "ทุนนิยม" (Capitalism) และใช้ระบบการเมืองการปกครองแบบประชาธิปไตย (Democracy) ซึ่งเป็นของคู่กัน ใครมีเงินมากก็ซื้อมาก เงินเป็นใหญ่ ใครมีเงินมากก็กุมอำนาจทุกอย่างในประเทศ เพราะทุกอย่างอยู่ภายใต้อำนาจเงินทั้งนั้น ซื้อได้แม้แต่คะแนนเสียงเลือกตั้งแล้วประกาศความชอบธรรมในการปกครองประเทศให้กับกลุ่มของตัวเอง
นักวิเคราะห์มองว่าท่าทีการเปลี่ยนทัศนคติไปสู่ระบบการปกครองแบบสังคมนิยมขนาดใหญ่ในสังคมอเมริกานั้นดูเหมือนว่าจะเกี่ยวข้องกับตัวเลขของประชากรสหรัฐฯที่เพิ่มขึ้นประจวบกับค่าจ้างแรงงานที่ต่ำและอัตราการว่างงาน (ที่เพิ่มขึ้น)
MarketWatch และ Darrel Delamaide คอลัมนิสต์ชาวอเมริกันมองว่า ชาวอเมริกันไม่เชื่อต่อไปอีกแล้วว่าระบบเศรษฐกิจของพวเขาเหนือกว่ากลุ่มประเทศยุโรป ส่งผลให้การรับรู้ระบบที่ครั้งหนึ่งถูกมองว่าเป็นสิ่งต้องห้าม (ถูกปิดหูปิดตา) มีการเปลี่ยนแปลงไป (อ่านคำพูดของพวกนักวิจารณ์ชาวสหรัฐฯนี่ต้องทำใจ เพราะสำนวนโวหารของเขานี่ตีลังกาแปดตลบถึงจะเขียนได้ ทำให้แอ็ดมินต้องตีลังกากลับหลังหันแปลเช่นกัน)
นักวิเคราะห์มองว่าหากสถานการณ์ในสหรัฐฯยังคงดำเนินต่อไปอยู่อย่างนี้ ดูเหมือนว่าแซนเดอร์จะเลือกช่วงเวลาได้อย่างเหมาะสมที่จะเล่น หากไม่คำนึงถึงโอกาสที่เขาจะชนะการเลือกตั้งในการรณรงค์หาเสียงหรือไม่นั้น กระแสนี้ไม่เพียงแต่จะส่งผลกระทบเป็นอย่างมากในสมัยการเลือกตั้งที่กำลังจะมา แต่ยังรวมถึงการเคลื่อนไหวทั้งภายในและภายนอกพรรคดิโมแครทของสหรัฐฯอีกด้วย
จุดที่สื่อฯรัสเซียสนใจเป็นพิเศษก็คือว่า ทำไมนักการเมืองระดับชาติที่เป็นถึงวุฒิสมาชิกสภาคองเกรสของสหรัฐฯถึงหันมานิยมระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมและการเมืองแบบประชาธิปไตย (Democratic Socialism) ซึ่งระบบโซเชียลลิสม์นี้ต้นตำหรับมาจาก Marxism–Leninism ในระบอบสังคมนิยมแบบคอมมิวนิสต์เลยนะ แต่พักหลังลงมาก็แตกออกไปหลายสำนักเหมือนกันมีการพัฒนาและขยายแนวความคิดออกไปเรื่อยๆตามยุคสมัย แต่สังคมนิยมยังไงซะก็ยังคงเป็นสังคมนิยมอยู่ดี เพราะพวก Capitalism (ทุนนิยม) มองว่าสังคมนิยมคือศัตรูตัวฉกาจของทุนนิยม หากสามารถกำจัดสังคมนิยมออกไปได้พวกอีลิททางด้านเศรษฐกิจก็จะกุมอำนาจทุกอย่างในประเทศได้อย่างเบ็ดเสร็จ ปัจจุบันนี้ระบบ Democratic socialism กำลังได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆทั้งในแวดวงการศึกษาระดับสูงรวมถึงนักการเมืองทั้งในสหรัฐฯและตะวันตกด้วย หรือว่าจุดจบของระบบทุนนิยม รวยกระจุกจนกระจายใกล้จะมาถึงแล้ว? เอ… ไม่รู้ว่าคุณบรรยงฯ แกรู้เรื่องนี้ด้วยหรือเปล่านะ เห็นวันก่อนแกบอกว่าระวังน๊าาาปฏิรูปพลังงานไทยจะเป็นสังคมนิยมโดยไม่รู้ตัว อ้าวนี่... สหรัฐฯตัวเป้งๆกับสนับสนุนระบบสังคมนิยมอยู่นะนั่นหนะโปรอเมริกาอย่างนายบรรยงฯ จะว่าอย่างไรบ้างหละคราวนี้?
The Eyes
14/05/2558
----------
http://sputniknews.com/us/20150514/1022117862.html
http://sputniknews.com/us/20150503/1021674037.html
http://en.wikipedia.org/wiki/Democratic_socialism
http://en.wikipedia.org/wiki/Social_democracy