3. โลกเข้าสู่ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการหรือยุคชะงักงันทางฆราวาส
โพสต์แล้ว: อาทิตย์ 26 ก.ค. 2015 9:31 pm
3. โลกเข้าสู่ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการหรือยุคชะงักงันทางฆราวาส
ในขณะที่เศรษฐกิจโลกกำลังฟื้นตัวอย่างช้าๆ ไม่มั่นคง และมีการถกเถียงระหว่างฝ่ายที่เชื่อในพลังขับดันของไอทีหรือยุคเครื่องจักรยนต์ที่จะช่วยให้เศรษฐกิจโลกฟื้นตัวในอนาคตอย่างยั่งยืน และฝ่ายที่เชื่อว่าโลกอยู่ภาวะเศรษฐกิจซบเซาทางฆราวาส ด้วยเหตุที่หนี้สูง การลงทุนและการบริโภคที่อ่อนแอ จำต้องมีการดำเนินนโยบายการคลังและการเงินที่เข้มข้นต่อไปเพื่อช่วยต่อยอดการฟื้นตัว Philipp Hildebrand รองประธานของBlackRock ชี้ว่ายังมีความเสี่ยงที่พวกเราทุกคนต้องเผชิญข้างหน้า คือ
1. การเตรียมการขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางของสหรัฐในช่วงครึ่งปีหลังนี้ เพราะJanet Yellen ประธานเฟดพูดชัดเจน และได้ปูพื้นข่าวสารให้ตลาดได้รับทราบมานานพอสมควรว่าได้เวลาแล้ว ที่เฟดต้องขึ้นดอกเบี้ย เพื่อปรับโครงสร้างดอกเบี้ยให้เข้าสู่สภาวะปกติ (normalization) ถ้าดอกเบี้ยขึ้น หมายความว่าการลงทุนในตลาดบอนด์ที่เป็นสวรรค์ของพวกนักลงทุนในfixed incomeหรือตราสารหนี้จะมีความน่าดึงดูดน้อยลง จะมีการจ่ายหนี้ในรูปดอลล่าร์มากขึ้น เพราะว่าค่าเงินดอลล่าร์มีการแข็งตัว ในขณะที่สินค้าบริโภคภัณฑ์มีราคาอ่อนตัวลง ราคาน้ำมันอาจจะไม่นสูงขึ้นในอีกหลายปีข้างหน้า
2. ทุกคนเฝ้าดูว่าจีนจะสามารถเลี่ยงการลงจอดแบบฮาร์ดแลนดิ้งได้หรือไม่ เพราะว่าฟองสบู่ตลาดหุ้นที่แตก และมาตรการทางการเงินของทางการที่เข้าไปแทรกแซงจะมีประสิทธิภาพแค่ไหนในการทำให้ตลาดหุ้นกลับคืนสู่ภาวะปกติ ถ้าทำไม่ได้ จีนอาจจะมีความเสี่ยงของการที่เศรษฐกิจจะหัวทิ่มบ่อ แต่Hildebrandเชื่อมั่นว่า จีนจะยังคงรักษาปัจจัยพื้นฐานของเศรษฐกิจให้เติบโตได้6.0%เป็นอย่างน้อย เพราะฉะนั้นเรื่องจีน ไม่น่าเป็นที่กังวลมากนัก
3. จีนจะสามารถปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจ รวมทั้งเพิ่มการบริโภคภายในเพื่อฟื้นฟูการเจริญเติบโตให้ยั่งยืนได้หรือไม่ อีกครั้งหนึ่งที่Hildebrandแสดงความมั่นใจว่าทั้งจีนและอินเดีย ซึ่งเป็นเสาหลักของเอเซีย จะสามารถฟันฝ่าความจำเป็นของการปฏิรูปเศรษฐกิจไปได้
4. กรีซจะออกหรือไม่ออกจากเขตยูโรยังคงเป็นประเด็นใหญ่ แม้ว่ากรีซจะเป็นประเทศเล็ก มีขนาดจีดีพีประมาณ2%ของเขตยูโร แต่วิกฤติหนี้กรีซกลายเป็นปัญหาใหญ่ของยุโรปที่ทำให้ระดับผู้นำไม่ต้องประชุมเรื่องอะไรอื่น เพราะมัวมาถกแก้ปัญหาหนี้กรีซ ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องน่าเศร้าใจ ยิ่งถ้าลงลึกไปดูสภาพความเป็นอยู่ของชาวกรีกยิ่งเป็นเรื่องน่าเศร้าหนักลงไปอีก เพราะว่าคนกรีกต้องเจอกับมาตรการรัดเข็มขัดที่รุนแรง ทั้งภาษีสูงขึ้น และการตัดลดเบี้ยบำนาญต่างๆ ทางยูโรโวนจะไม่มีแผนการลดหนี้ให้กรีซ แต่จะลดดอกเบี้ย หรือยืดอายุหนี้ให้แทนเพื่อให้เป็นแบบอย่างในการจัดการกับประเทศที่ประสบวิกฤติในเขตยูโร โดยส่วนตัวHildebrandคิดว่า กรีซน่าจะอยู่ในเขตยูโรต่อไป เพราะว่าถ้ากรีซออกจากยูโร จะสร้างปัญหาให้ยุโรปในอนาคต เพราะว่ามีตัวอย่างแล้ว ประเทศอื่นๆอาจจะคิดออกจากยูดรก็ได้ทำให้เขตยูโรเสียเอกภาพ
5. ตลาดเกิดใหม่อาจจะต้องเผชิญกับภาวะผันผวนทางการเงิน เนื่องมาจากความไม่แน่นอนต่างๆ รวมทั้งดอกเบี้ยที่สูงขึ้นของเฟด ที่ผ่านมาดอกเบี้ยถูกกดต่ำนานเกินไป สภาพแวดล้อมของดอกเบี้ยที่ต่ำนานเกินไป หรือการแทรกแซงของธนาคารกลางในตลาดการเงินนานเกินไปทำให้เกิดความเสี่ยงของความผันผวนที่รุนแรง อะไรที่มันสงบมานาน อาจจะเป็นภาพหลอกที่จะนำมาสู่ความผันผวนที่รุนแรงหรือไม่คาดฝันได้ในอนาคต
จากภาพรวมทั้งหมดนี้ ทำให้คนตั้งคำถามมากมายกับBlackRockว่ามีนโยบายบริหารความเสี่ยงอย่างไร? Hildebrand ตอบว่า การกระจายความเสี่ยงของพอร์ตเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในเวลานี้ แต่เชื่อว่าโอกาสยังดีที่จะเข้าไปลงทุนในหุ้น หรือ/และบริษัทที่โดดเด่นออกมาในเชิงปฏิรูป มีการใช้ไอทีเพื่อปรบปรุงประสิทธิภาพ รวมทั้งจะเข้าไปลงทุนในประเทศที่มีแนวโน้มที่จะประสบความสำเร็จในการปฏิรูปเชิงโครงสร้าง
บทต่อไปจะเกี่ยวกับนโยบายการลงทุนของเงินทุนสำรองระหว่างประเทศSwiss National Bank หรือธนาคารกลางของสวิส ในฐานะที่Hildebrandเคยเป็นผู้ว่าการธนาคารนี้
thanong
21/7/2015
source
https://www.facebook.com/ThanongFanclub ... 63013774:0
ในขณะที่เศรษฐกิจโลกกำลังฟื้นตัวอย่างช้าๆ ไม่มั่นคง และมีการถกเถียงระหว่างฝ่ายที่เชื่อในพลังขับดันของไอทีหรือยุคเครื่องจักรยนต์ที่จะช่วยให้เศรษฐกิจโลกฟื้นตัวในอนาคตอย่างยั่งยืน และฝ่ายที่เชื่อว่าโลกอยู่ภาวะเศรษฐกิจซบเซาทางฆราวาส ด้วยเหตุที่หนี้สูง การลงทุนและการบริโภคที่อ่อนแอ จำต้องมีการดำเนินนโยบายการคลังและการเงินที่เข้มข้นต่อไปเพื่อช่วยต่อยอดการฟื้นตัว Philipp Hildebrand รองประธานของBlackRock ชี้ว่ายังมีความเสี่ยงที่พวกเราทุกคนต้องเผชิญข้างหน้า คือ
1. การเตรียมการขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางของสหรัฐในช่วงครึ่งปีหลังนี้ เพราะJanet Yellen ประธานเฟดพูดชัดเจน และได้ปูพื้นข่าวสารให้ตลาดได้รับทราบมานานพอสมควรว่าได้เวลาแล้ว ที่เฟดต้องขึ้นดอกเบี้ย เพื่อปรับโครงสร้างดอกเบี้ยให้เข้าสู่สภาวะปกติ (normalization) ถ้าดอกเบี้ยขึ้น หมายความว่าการลงทุนในตลาดบอนด์ที่เป็นสวรรค์ของพวกนักลงทุนในfixed incomeหรือตราสารหนี้จะมีความน่าดึงดูดน้อยลง จะมีการจ่ายหนี้ในรูปดอลล่าร์มากขึ้น เพราะว่าค่าเงินดอลล่าร์มีการแข็งตัว ในขณะที่สินค้าบริโภคภัณฑ์มีราคาอ่อนตัวลง ราคาน้ำมันอาจจะไม่นสูงขึ้นในอีกหลายปีข้างหน้า
2. ทุกคนเฝ้าดูว่าจีนจะสามารถเลี่ยงการลงจอดแบบฮาร์ดแลนดิ้งได้หรือไม่ เพราะว่าฟองสบู่ตลาดหุ้นที่แตก และมาตรการทางการเงินของทางการที่เข้าไปแทรกแซงจะมีประสิทธิภาพแค่ไหนในการทำให้ตลาดหุ้นกลับคืนสู่ภาวะปกติ ถ้าทำไม่ได้ จีนอาจจะมีความเสี่ยงของการที่เศรษฐกิจจะหัวทิ่มบ่อ แต่Hildebrandเชื่อมั่นว่า จีนจะยังคงรักษาปัจจัยพื้นฐานของเศรษฐกิจให้เติบโตได้6.0%เป็นอย่างน้อย เพราะฉะนั้นเรื่องจีน ไม่น่าเป็นที่กังวลมากนัก
3. จีนจะสามารถปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจ รวมทั้งเพิ่มการบริโภคภายในเพื่อฟื้นฟูการเจริญเติบโตให้ยั่งยืนได้หรือไม่ อีกครั้งหนึ่งที่Hildebrandแสดงความมั่นใจว่าทั้งจีนและอินเดีย ซึ่งเป็นเสาหลักของเอเซีย จะสามารถฟันฝ่าความจำเป็นของการปฏิรูปเศรษฐกิจไปได้
4. กรีซจะออกหรือไม่ออกจากเขตยูโรยังคงเป็นประเด็นใหญ่ แม้ว่ากรีซจะเป็นประเทศเล็ก มีขนาดจีดีพีประมาณ2%ของเขตยูโร แต่วิกฤติหนี้กรีซกลายเป็นปัญหาใหญ่ของยุโรปที่ทำให้ระดับผู้นำไม่ต้องประชุมเรื่องอะไรอื่น เพราะมัวมาถกแก้ปัญหาหนี้กรีซ ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องน่าเศร้าใจ ยิ่งถ้าลงลึกไปดูสภาพความเป็นอยู่ของชาวกรีกยิ่งเป็นเรื่องน่าเศร้าหนักลงไปอีก เพราะว่าคนกรีกต้องเจอกับมาตรการรัดเข็มขัดที่รุนแรง ทั้งภาษีสูงขึ้น และการตัดลดเบี้ยบำนาญต่างๆ ทางยูโรโวนจะไม่มีแผนการลดหนี้ให้กรีซ แต่จะลดดอกเบี้ย หรือยืดอายุหนี้ให้แทนเพื่อให้เป็นแบบอย่างในการจัดการกับประเทศที่ประสบวิกฤติในเขตยูโร โดยส่วนตัวHildebrandคิดว่า กรีซน่าจะอยู่ในเขตยูโรต่อไป เพราะว่าถ้ากรีซออกจากยูโร จะสร้างปัญหาให้ยุโรปในอนาคต เพราะว่ามีตัวอย่างแล้ว ประเทศอื่นๆอาจจะคิดออกจากยูดรก็ได้ทำให้เขตยูโรเสียเอกภาพ
5. ตลาดเกิดใหม่อาจจะต้องเผชิญกับภาวะผันผวนทางการเงิน เนื่องมาจากความไม่แน่นอนต่างๆ รวมทั้งดอกเบี้ยที่สูงขึ้นของเฟด ที่ผ่านมาดอกเบี้ยถูกกดต่ำนานเกินไป สภาพแวดล้อมของดอกเบี้ยที่ต่ำนานเกินไป หรือการแทรกแซงของธนาคารกลางในตลาดการเงินนานเกินไปทำให้เกิดความเสี่ยงของความผันผวนที่รุนแรง อะไรที่มันสงบมานาน อาจจะเป็นภาพหลอกที่จะนำมาสู่ความผันผวนที่รุนแรงหรือไม่คาดฝันได้ในอนาคต
จากภาพรวมทั้งหมดนี้ ทำให้คนตั้งคำถามมากมายกับBlackRockว่ามีนโยบายบริหารความเสี่ยงอย่างไร? Hildebrand ตอบว่า การกระจายความเสี่ยงของพอร์ตเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในเวลานี้ แต่เชื่อว่าโอกาสยังดีที่จะเข้าไปลงทุนในหุ้น หรือ/และบริษัทที่โดดเด่นออกมาในเชิงปฏิรูป มีการใช้ไอทีเพื่อปรบปรุงประสิทธิภาพ รวมทั้งจะเข้าไปลงทุนในประเทศที่มีแนวโน้มที่จะประสบความสำเร็จในการปฏิรูปเชิงโครงสร้าง
บทต่อไปจะเกี่ยวกับนโยบายการลงทุนของเงินทุนสำรองระหว่างประเทศSwiss National Bank หรือธนาคารกลางของสวิส ในฐานะที่Hildebrandเคยเป็นผู้ว่าการธนาคารนี้
thanong
21/7/2015
source
https://www.facebook.com/ThanongFanclub ... 63013774:0