ประชาชนท้องถิ่นรวมตัวกัน “ฟ้อง” เขตปกครองท้องถิ่นตัวเอง!
เขตปกครองลาโน Llano County รัฐเท็กซัส แห่งสหรัฐอเมริกา “ถอด” หนังสือที่มีเนื้อหาเหยียดผิว เหยียดเพศทางเลือก ออกจากห้องสมุดทั้งหมด --- ตามนโยบาย “ถอด” ทั่วทั้งแผ่นดินอเมริกา นับพันนับหมื่นเรื่อง พร้อมทั้งจี้ครูบาอาจารย์ คัดตำราสอนเด็กให้ถี่ถ้วนหน่อย
ประชาชนต่อต้าน! เดือดดาล “ทวง” หนังสือให้กลับสู่ชั้นวาง!
ประธานาธิบดี โจ ไบเดน ต่อต้านเช่นกัน! ชี้เป็น “สงครามล่าล้างวัฒนธรรม” --- พรรคฝ่ายค้าน จงใจใช้เป็น “เครื่องมือทางการเมือง” โจมตีรัฐบาล! (รัฐเท็กซัส ปัจจุบันอยู่ใต้พรรครีพับลิกัน ตรงข้ามกับเดโมแครตของไบเดน)
ไบเดนโวยลั่น กางปีกปกป้องครู และแสดงความหงุดหงิดต่อการ “แบน” หนังสือ
“ตอนสอน ต้องมานั่งพะวงเรื่องเผาตำรา ว่าห้ามใช้เล่มไหน เพราะไม่ตรงใจขั้วการเมืองเหรอ?” ไบเดนประชดประชัน
.
พูดยาก … “เนื้อหา” บางอย่างไม่เหมาะสม จึงควรต้องเข้ามาควบคุมใช่หรือไม่?
แต่มันจะเกิดคำถาม … อะไรคือเหมาะสมไม่เหมาะสม? และ “ใคร” ตัดสิน? (ผู้มีอำนาจ? ผู้รอบรู้?)
ฉะนั้น ทุกคน ควรมี “เสรีภาพ” ในการตัดสิน เลือกอ่านเองใช่หรือไม่?
งั้นเยาวชนล่ะ เลือกเองได้หรือ?
ตอบยาก
.
ไม่นับว่า “เนื้อหา” บางอย่างมันเป็น “ความรู้” --- ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า ประวัติศาสตร์ชาติสหรัฐอเมริกา ส่วนหนึ่งหล่อหลอมขึ้นมาจากการเหยียดผิว และการต่อสู้ด้วยเลือดเนื้อเพื่อสลายการเหยียดนั้น … กระทั่งมีวันนี้ ที่บังเกิดความเท่าเทียมในสังคม (?)
ถ้าเด็กรุ่นใหม่ของอเมริกา ไม่ได้อ่าน ไม่ได้เรียน ก็จะไม่ได้ “รู้” ถึงเรื่องราว ตัวตน การฝ่าฟันในการสร้างชาติของบรรพบุรุษ
มันคือ “ความจริง”
อ่านเพื่อยอมรับ ทำความเข้าใจ และนำมาพัฒนาอนาคต
หรือมันควรถูกกลบฝังในอดีต?
ตอบยาก
.
หรือถ้ามองหนังสือเป็นวรรณกรรม เป็นศิลปะ
คุณค่าของมัน อยู่ที่การถ่ายทอด กลวิธี ร้อยเรียงคำ รังสรรค์ความ ฯลฯ ใช่หรือไม่?
ถ้า “เนื้อหา” กล่าวถึงเรื่องที่เลว เช่นนั้น นับเป็น “ศิลปะ” ที่เลวหรือ?
“ความงาม” คืออะไร? อยู่ตรงไหน? ศิลปะที่ดีไม่สามารถอยู่บนเนื้อหาที่เลวได้ จริงหรือ?
ถ้าหนังสือเล่มนั้นงามในนิยามศิลปะ แต่ครั้นมีเนื้อหาเหยียดผิว ก็ไม่ควรที่จะมีผู้ใดได้สัมผัสมันใช่หรือไม่?
ตอบยาก
.
โลกเรา มีเรื่องมากมายที่ “ตัดสิน” ไม่ได้ (หรือที่จริง ทุกเรื่องก็ตัดสินไม่ได้?)
อาจบางที สิ่งสำคัญ มิใช่การได้มาซึ่งคำตอบ แต่คือการที่ “เรา” พยายามหาคำตอบไปด้วยกัน --- แม้เป็นคำตอบที่แตกต่าง แต่ค้นไปด้วยกัน หาไปด้วยกัน เดินไปด้วยกัน … โดยไม่จำเป็นต้องได้คำตอบหนึ่งเดียวกัน
ปัญหาอยู่ที่ หลายครั้ง มีคน “ตัดสิน” คำตอบให้เรา โดยไม่มีสิทธิ์เลือก
หรือที่จริง เราไม่สิทธิ์ตั้งคำถามแต่แรกเลยด้วยซ้ำ
https://www.reuters.com/legal/governmen ... 022-04-26/
https://www.reuters.com/world/us/biden- ... 022-04-27/