บอริส จอห์นสัน เดินทางไปยังประเทศอินเดีย เพื่อขอให้อินเดียหันมาร่วมมือกับชาติตะวันตก ขอให้อินเดียเลิกซื้อน้ำมันหรือทำธุรกรรมการค้ากับรัสเซีย
หรือเรียกง่าย ๆ ว่า ขอให้อินเดียร่วมคว่ำบาตร ตามที่สหรัฐและอังกฤษทำอยู่
□ คำขอในทางการทูต ถ้ามาเพียงลำพัง ก็อาจจะหมายถึงการขอร้อง ..
□ แต่ถ้าก่อนหน้านี้ ทางนายโจ ไบเดน ได้เดินทางมาพูดเรื่องนี้แล้ว และอังกฤษได้ตามมาพูดเสริมอีกครั้ง
การทูตนัยแบบนี้ หมายถึง "การกดดัน"
ผลการเจรจาระหว่างทั้งสองฝ่ายคงไม่สำเร็จ เพราะอินเดียต้องคำนึงผลประโยชน์ประเทศอินเดีย เหนือผลประโยชน์ของชาติตะวันตก
⭐ ** การทำให้ประชาชนตัวเองเดือนร้อน เพื่อให้เพื่อนที่ไม่สนิทและชอบเอาเปรียบ เกิดความพึงพอใจ คงไม่ใช่วิสัยการเป็นผู้นำที่ดี
ขณะเดียวกันกลับปรากฏข่าวออกมาว่า ..
นเรนทระ โมที นายกรัฐมนตรีอินเดีย ยังคงทวงคำขอโทษจากรัฐบาลอังกฤษ ..
ทวงคำขอโทษมาเป็นเวลาถึง 103 ปีแล้ว ในกรณีทหารอังกฤษ “สังหารหมู่ชาวอินเดีย ที่จลิยานวาลาบาค” เมื่อปี ค.ศ. 1919
ในปีนั้น .. ค.ศ. 1919 ..
ชาวอินเดียและประเทศอินเดีย ยังเป็นอาณานิคมอยู่ภายใต้การปกครองของจักรวรรดิอังกฤษ ภายใต้กฎหมายของอังกฤษ
รัฐบาลอังกฤษแฝงตัวปกครองผ่านบริษัทที่เข้ามาทำการค้า ในชื่อว่า “บริษัทอินเดียตะวันออก” หรือที่รู้จักกันในอีกชื่อว่า “บริติชอินเดีย”
เวลานั้น ผู้ปกครองบริติชอินเดีย ได้ออกกฎหมายลิดรอนสิทธิคนอินเดียหลายประการ ทำให้เกิดความไม่พอใจและมีประท้วงขึ้น ทหารอังกฤษเข้าจับกุมผู้นำการประท้วงไป 2 คน จนทำให้เกิดกระแสต่อต้าน
ทำให้ชาวอินเดียจำนวนหลายพัน นัดรวมตัวประท้วงที่ สวนสาธารณะจลิยานวาลาบาค รัฐปัญจาบ เรียกร้องให้ จักรวรรดิอังกฤษ ปล่อยตัวผู้นำ 2 คนที่ถูกจับไป
ในวันเวลาเดียวกัน สถานที่เดียวกัน คือในวันที่ 13 เมษายน ณ สวนสาธารณะจลิยานวาลาบาค สถานที่ที่ชาวอินเดียรวมตัวประท้วงให้ปล่อยตัวผู้นำท้องถิ่นของพวกเขา
13 เมษายน วันนั้นเป็นวันดี เป็นวันขึ้นปีใหม่ของศาสนาซิกข์ ของชาวปัญจาบ , ชาวซิกข์เรียกวันนั้นว่า “วันเวสาขี”
จึงทำให้มีการรวมตัวกันแสดงออกทางศาสนา เฉลิมฉลองมากกว่าปกติ ณ สวนสาธารณะจลิยานวาลาบาค เช่นเดียวกัน เป็นจำนวนเกือบ 20,000 คน
ทางด้านบริติชอินเดีย ได้ส่งนายพลเรจินอลด์ ไดเออร์ ที่ไม่สนใจวิเคราะห์เหตุการณ์หรือใส่ใจในรายละเอียดเรื่องราวใด ๆ
มีคำสั่งให้เข้าไปสลายฝูงชน ด้วยการสาดกระสุนเข้าฝูงชนหลายพันนัด ทำให้ชาวอินเดียเสียชีวิตกว่า 1,500 คน และบาดเจ็บมากกว่า 3,000 คน
การกระทำอันเหนือกว่ากฎหมายของ จักรวรรดิอังกฤษ ในครั้งนี้ เป็นชนวนหนึ่งที่ก่อให้เกิดการดื้อแพ่งของชาวอินเดียต่ออำนาจของจักรวรรดิอังกฤษในเวลาต่อมา
จนทำให้ผู้คนต่างเข้าร่วมกับมหาตะมะ คานธี เพื่อเรียกร้องเอกราช
เมื่อนายพลเรจินอลด์ ไดเออร์ เดินทางกลับจักรวรรดิอังกฤษ เขาไม่ถูกลงโทษใดๆเลยจากการกระทำดังกล่าว ทั้งยังได้รับมอบดาบประดับเพชร ที่ข้อความจารึกให้ว่า “ผู้กอบกู้ปัญจาบ”
อันประหนึ่งเสมือนวีรบุรุษ ผู้ออกคำสั่งสาดกระสุดยิงใส่ร่างชาวอินเดีย เป็นสิ่งที่ถูกต้อง เชิดชู
…
นับจากวันนั้น จนวันนี้ ..
จนอินเดียมีเอกราชแล้ว และเป็นอิสระในการปกครองของตนเอง
แต่ก็เป็นเวลาถึง 103 ปี ..
ที่ชาวอินเดีย รอการขอโทษจากรัฐบาลอังกฤษ แบบ “สุภาพบุรุษ” ตามที่ชนชาติอังกฤษชอบเรียกตนเองแบบนั้น
Padipon Apinyankul
✍️✍️✍️